วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ซ้อม ซ้อม ซ้อม ...และ...ซ้อม


     



     วลีจากโฆษษณาเมื่อนานมาแล้ว ออกแนวว่า คนเราจะประสบความสำเร็จต้องมีความพยายาม...ซ้อมเข้าไป แล้วผลจะดีเอง...ผมก็ไม่ได้เถียงนะครับ สอนวงโยฯมาก็มาก เห็นหลายวงใช้คติซ้อมๆๆและซ้อม แล้วประสบความสำเร็จก็มีครับ แต่ด้วยประสบการณ์ชีวิตทำให้รู้ว่า บางครั้งซ้อมน้อยก็ชนะซ้อมมากได้เหมือนกัน


     ออกตัวก่อนนะครับ บล็อคนี้มาจากประสบการณ์ล้วนๆ ไม่อิงทฤษฎีเล่มไหนทั้งนั้น เขียนขึ้นด้วยอารมณ์น้อยใจ + อนาถตัวเอง + สงสารปนหมั่นไส้เด็ก..!!!...ทำไมหรือครับ??...จะเล่าให้ฟัง

     ผมกำลังมั่นใจว่าจะย้ายโรงเรียน ย้ายไม่ได้ก็จะลาออกซะ เพราะ 10 ปีที่ผมพยายามใช้ความสามารถทั้งหมดที่มีด้วยมุ่งจะให้ต้นสังกัดตัวเองเจริญทันเทียมอารยะ แต่สุดท้ายต้องหมดแรงเพราะความขี้เกียจของคน...อะไรก็ได้ที่ตัวเองมีความสุข ไม่เหนื่อย ไม่เดือนร้อน...นอกนั้น Say no!! ต้องย้ำว่า เด็กด้วยนะ...

     ทำไมถึงน้อยใจ...ก็คนเราน่ะ...ผมเป็นครูทำกิจกรรม ต้องปะทะเจอกับเด็กนอกเวลา ไม่ได้มีคะแนนเป็นข้อแลกเปลี่ยนให้เด็กทำหน้าที่ จะมีก็แต่ความชอบของเขาเอง...ถามว่าเด็กชอบอะไร 21 ปี กับอาชีพนี้ เด็กอยากโต อยากโชว์ อยากช่วย (อันหลังนี่ไม่ค่อยมีแล้วยุคนี้) คือ ชอบคิดว่าตัวเองโตแล้วรู้ดีแล้ว ครูโบราณไม่ทันสมัย รู้ไม่เท่าทันเด็ก อยากโชว์ว่าฉันมีความสามารถพิสูจน์กันตรงคนชื่นชมมีชัยชนะในการแข่ง...แต่สุดท้ายผมสรุปได้ว่า ครู...เป็นได้แค่ไอ้ถ่วงความเจริญ ชอบให้ทำอะไรก็ไม่รู้ไม่ตรงประเด็น ฉันจะลงแข่งเพลงเพื่อชีวิตก็ให้ซ้อมเพลงฝรั่งอยู่ได้...ฉันจะเต้น cover ดัน(เสือก)ให้ไปวิ่งไปเต้นแอรโรบิค...แต่สุดท้ายก็ถูกครูบังคับให้ทำ รายการไหนแพ้ก็บ่นว่าไม่แพ้ได้ไง ให้ซ้อมอะไรก็ไม่รู้เสียเวลา พอชนะมาบอก"กูเก่ง"

     อนาถตัวเองทำไม...ก็เพราะนับวันเด็กยุคนี้สั่งสอนยากขึ้นทุกที เดี๋ยวนี้เขามีครูยูทูป ไม่ฟังหรอกครูกระดาษทรายน่ะ เห็นเขาเล่นเก่งๆก็ยกมาโดยเฉพาะเสื้อผ้า เหมือนกับว่าถ้ากูแต่งเหมือนเขาก็จะเก่ง จะสวยเหมือนเขา....ฝันหวาน........อนาถตรงพูดไม่ออกนี่ล่ะ...อยากจะบอกว่า "อีด...กเอ๋ย หน้าตาและฝีมือไม่ได้ติ่งเขาแม้แต่น้อย ยังจะไปบอกว่ากูเป็นติ่งเขาอีกกกก..กก.ก.....พูดไม่ออกครับ...เพราะครูถูกสั่งให้บอกว่า เก่งมากลูก...ถุ๋ย!

     สงสารทำไม....สงสารพวกที่ต้องตะบี้ตะบันซ้อมเป็นเดือนๆปีๆโดยไม่รู้ว่าตัวเองอยู่ตรงไหน ทำอะไรอยู่ หมั่นไส้ก็เพราะคนพวกนี้ชอบหลงว่าตัวเองเก่งแล้ว...ถ้าแพ้เขาก็จะบ่นว่าโดนโกงมั่ง กรรมการไม่ยุติธรรมมั่ง ฯลฯ

     พอรู้ว่าครูจะย้าย บางคนดีใจ บางคนบอกช่างมัน บางคนร้องไห้(ไม่นานหรอก) คนดีใจก็เหมือนนิทานกบเลือกนาย คนดีใจก็คงรู้ว่าครูคนไหนก็เหมือนกัน คนร้องไห้ก็เพราะตกใจกับการเปลี่ยนแปลง..แต่ขอบอก ไม่เกินเดือนที่ครูย้ายออก เด็กจะลืมครูจนหมดสิ้นจำได้แต่เรื่องเลวร้ายที่ครูทำไว้ ...ก็แน่ล่ะ เรื่องดีๆครูก็หอบไปทำงานที่ใหม่ด้วย ทิ้งไว้เรื่องเลวๆไว้ในลิ้นชักโต๊ะเก่า เด็กไปเจอก็ต้องคิดแบบนั้นธรรมดา

     เลิกบ่นดีกว่าครับ สรุปว่า เด็กน่ะ ไม่เคยอะไรกับครูหรอก จบไปก็ลืม ดุด่าเขาไว้อีกหน่อยจบไปเดินผ่านกันมันจะหลอกด่าเอา ขนาดไปยืนดูแลความปลอดภัยให้มันยังบอกว่ามายืนเหี้ยอะไร?...เด็กสมัยนี้ ถ่อยได้อีก

     กลับมาเรื่องซ้อม อย่างที่กล่าวไว้ตอนต้น ซ้อมน้อยแต่แซงซ้อมเยอะ...ได้ไง?...ผมมีประสบการณ์ทำวงมาตั้งแต่อายุ 22 ขวบ ตอนนั้นไม่รู้อะไรหรอก คิดแต่ว่า ต้องแข่งชนะ...จะชนะได้ต้องมีโค้ดยากๆ เพลงยากๆ จะทำได้ก็ต้องซ้อมหนักๆ คิดแค่นั้น...แต่ปัญหาที่ตามมาคือ โค้ดยากไป เพลงก็ยากเกิน เด็กทำไม่ได้...เราก็ อะไรวะ...แค่นี้ทำไม่ได้...ก็ไม่รู้จะทำไงครับ ก็ตะบันซ้อมมมมม...ไม่ได้ก็ เอาใหม่ๆๆๆๆ จนถึงคืนก่อนแข่งก็ยังไม่โอเค  ทำแบบนี้ได้ 7 ปี เลิกครับ...(ย้ายหลายโรงเรียนกว่าจะเลิก) ตอนเลิกก็คือเบื่อประกวดแข่งขัน สิ่งที่เจอหลังจากนั้นคือคำว่า "อะไรวะ" อย่างแรกเลยครับ ปกติจะแข่งทีต้องทะเลาะต้องฟังผู้บริหารบ่นๆๆๆๆ เอะอะก็จะเลิกแข่ง เอะอะก็เงินไม่มี พอเราบอกไม่แข่งนะ อ้างเด็กไม่พร้อม ทีนี้นะ "เมื่อไหร่จะแข่ง?" ถามทุกวัน แย้งไปว่าเปลืองเงิน กลับบอกว่าเงินมีเยอะแยะ...ยิ่งถอยก็ยิ่งได้ครับ

     อย่างที่สอง...พอไม่ประกวดแข่งขัน แรกๆก็ไม่รู้จะซ้อมอะไร ผมก็เบื่อเหมือนเด็กครับ หายใจทิ้ง สุดท้ายก็วอร์มทั้งเย็น ฝึก rhythm มั่ง Tone มั่ง ออกกำลังกาย อะไรไปเรื่อยเปื่อย คือเห็นอะไรที่เด็กประกวดต้องใช้แต่ไม่มีเวลาทำเพราะต้องซ้อมโค้ด ก็เอามาทำเพราะว่างมาก ทำจนหมดก็ปล่อยติวการบ้านให้พี่ๆสอนการบ้านน้องๆ ช่วยกันทำรายงาน งานฝีมือบ้าง เผลอๆก็พากันไปดูหนังซื้อตั๋วยาวเป็นตั๋วรถเมล์ ปรากฎว่าสองปีผ่านไปวงแน่นมาก เด็กรักกันผูกพันธ์กัน ทุ่มเททำอะไรเพื่อกันและกันรวมถึงการซ้อม มีไม่ชอบกันก็บอกกันเปิดเผยแต่ไม่เคยทะเลาะกันเพราะเด็กจะรู้ตัว จะอยู่ด้วยกันเฉพาะเรื่องซ้อมเรื่องวงเท่านั้น ....เพลงที่เคยเล่นไม่ได้ ที่ว่ามหาหิน เด็กรุ่นนี้เล่นเหมือนไม่มีความยากอยู่เลย...ถามว่าคล่องปรื๋อเลยหรือ..ก็ไม่นะครับ แต่ความรู้สึกคือ ต่อเพลงอะไรเด็กจะพบอุปสรรคเท่าๆกัน ไม่ว่าเพลงจะยากจะง่ายขนาดไหนมันก็จะติดๆขัดๆแบบเดิมๆ แปปเดียวก็ผ่าน คนไหนไม่ทันเพื่อนจะร้องห่มร้องไห้ด้วยเหตุผลคือช่วยเพื่อนเล่นไม่ได้ เป็นตัวถ่วง ฯลฯ เพื่อนๆก็ต้องมาช่วยกันเหมือนเรื่องอื่นๆ...4 ปี ผ่านไป(ผมไม่อยู่แล้ว) วงนี้ประกวดชนะเป็นว่าเล่น ในขณที่วงเก่าๆ(ที่ผมเคยไปช่วยไปทำ) 10 ปีก็ยังไม่ไปไหนจนยุบวงไป

     จากสองด้านทำให้ผมสรุปได้ว่า การซ้อม คือ....
การซ้อมคือการทำสิ่งที่ทำไม่ได้ให้ได้
...ด้วย ...
1. การสร้างพื้นฐานทั้งร่างกาย จิตใจ ทีมเวิร์ค ให้ทุกคนทำงานด้วยกันได้อย่างมีความสุข
2. การพัฒนาพื้นฐานการเล่น ความรู้ ทฤษฎี ให้มีมากกว่าที่จะใช้
3. พัฒนาสกิล(skill) โดยการนำเอาพื้นฐานที่ฝึกแล้วมาใช้ หรือ เอาสิ่งที่ใช้ไปเป็นพื้นฐานการฝึก

     ผมพบว่า วงไหน กลุ่มไหน สามารถวิ่งไปด้วยกันเป็นแถวได้ ยิ่งวิ่งเท้าพร้อมกันได้ กลุ่มนั้นวงนั้นจะมี rhythmic ที่ดีมากกว่า  วงไหนได้เล่นซนร้องคาราโอเกะด้วยกันบ่อยๆ จะเข้าใจเรื่อง Tone ได้ง่าย บางทีย้าย section บ้างเป็นช่วง(ผมใช้วิธีให้เด็กย้ายไปฝึกเปียโนหรือ Pitch percussion) เด็กที่ผ่านประสบการณ์พวกนี้จะเรียนรู้เรื่อง Harmony จนถึง Counter point ได้แบบไม่รู้ตัว ดีกว่าคนที่ไม่ยอมไป  เด็กโตๆ ผมจะให้ออกมานำฝึกออกมาเป็นผู้อำนวยเพลงโดยไม่ซ้้ำอยู่กับคนเดิมๆ(ต้องคอยดูด้วยนะครับ) สอนเขาอำนวยเพลงเท่าที่เขาอยากรู้ สิ่งที่พบคือ เด็กเหล่านี้จะรู้จัก music part มากกว่าคนไม่เคย เมื่อเขาไปอยู่ในวงเขาจะได้ยินทำนองอื่นๆมากกว่าที่เคย(ผมเรียนรู้ว่าเรื่องนี้จะเป็นมากสำหรับคนเล่นเบส) และสมาชิกในวงจะรู้จักแยกแยะเข้าใจความแตกต่างของ conductor แต่ละคนได้...สิ่งที่ผมสรุปได้คือ เด็กเหล่านี้ต้องการพื้นฐานที่ดีมากกว่าโค้ดยากๆ    เพราะเท่าที่เห็น เด็กพวกนี้เล่นของง่ายๆให้น่าดูได้ และที่เจ็บปวดคือ เด็กพวกนี้ไม่รู้จักคำว่า "ทำไม่ได้" ตราบที่พื้นฐานเขาปูถึง

     สิ่งที่อยากจะสรุปให้ฟัง คือ อย่าคิดว่าการชนะคือสิ่งพิสูจน์อะไร...การประกวดเเข่งขันอะไรที่เป็นคะแนนพิสวาศ มันอาจจะยอดเยี่ยมสำหรับคนคนหนึ่งจนน้ำตาไหลพราก แต่คนที่นั่งอยู่ข้างอาจจะรังเกียจจนปวดอ้วกก็เป็นได้ ... สิ่งสำคัญ คือ การที่เราจะแสดงการแสดงอะไรสักอย่างให้คนดู เราคงต้องรู้จักสิ่งที่เราจะเล่นให้ถ่องแท้เสียก่อน ประหนึ่งคนจะเล่นละครก็ต้องเข้าใจเนื้อหาและอารมณ์ของละครก่อนจึงจะแสดงได้ดี ... ส่วนดนตรีและการเต้น เราก็ควรจะมีพื้นฐานที่ดี และควรมีอย่างเหลือเฟือให้เราได้เลือกใช้ เสมือนเราถ่ายน้ำโอ่งด้วยขันที่เราไม่มีวันตักขึ้นได้หมดเกลี้ยง ยังไงก็ต้องเหลือติดก้นไม่มากก็น้อย แล้วถ้าเรามีน้ำแค่พอดีเป๊ะๆ โอ่งใบใหม่ก็จะมีน้ำไม่เต็ม เราก็จะสู้คนที่เขามีน้ำสำรองไม่ได้ ไหนจะหกกลางทางอีก ... การตะบันซ้อมก็เหมือนการพยายามใช้กาละมังใบใหญ่ๆถ่ายน้ำจากโอ่ง(เพราะคิดว่าจะเร็ว) ยกก็ไม่ค่อยจะไหว เพราะพื้นฐานร่างกายเราไม่ดี ไหนจะหกกลางทางเพราะพื้นฐานการเดินวิ่งเราแย่ ไหนจะอุปสรรค์ของกาละมังที่ใหญ่จนตักน้ำก้นโอ่งไม่ได้...คนจะใช้กาละมังให้มีประสิทธิภาพ มันก็คงต้องเริ่มจากขันใบเล็กๆก่อนมิใช่หรือ แล้วเราก็คงต้องมีเวลาฝึกตัก ฝึกเดินให้นิ่ง ฟิตร่างกายให้แข็งแรง ซึ่งมันก็ต้องใช้เวลาและความอดทนในการฝึกทีละอย่าง ... มาถึงก็ฝึกแต่แบกกาละมังวิ่ง  มีแต่เจ็บกับเจ็บ...

     .....คนที่ตะบันซ้อม เป็นคนที่น่าสงสาร เพราะต้องฝึกสิ่งที่ไม่เคยทำไปทั้งชีวิต และไม่เคยรู้ว่าตัวเองอยู่ตรงไหนแล้ว....ดังนั้น..เขาเป็นคนที่ไม่น่าจะพูดได้ว่า "ทำเต็มที่แล้ว" ...


Credit picture from Google and DCI