วันพุธที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

แสงสีฟ้า ไม่ใช่แค่โฆษณาชวนเชื่อ

     ช่วงหลังๆ มีการโฆษณาฟิลม์กันรอยมือถือที่บอกว่ากันแสงสีฟ้า และอ้างข้อเสียของแสงสีฟ้าว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพ  บางคนเห็นแล้วก็ว่า "เว่อร์"ไปรึเปล่า...คือไม่ใช่ไม่เชื่อ แต่มันเกินเหตุไปรึเปล่า?...ผมก็เป็นคนหนึ่งที่คิดเช่นนั้น...

     ก็เลยไปศึกษาดูเกี่ยวกับอันตรายจากแสงสีฟ้าที่ว่าส่องออกมาจากจอมือถือต่างๆ ปรากฎว่าสิ่งที่ค้นเจอมันมากกว่าที่คิด 

     อันที่จริงการจ้อง เพ่ง จอมือถือก็ทำให้ตาเสียได้อยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นเสียสายตาเพราะเพ่งมองตัวหนังสือเล็กๆ ทำให้ต้องถือจ่อตาในระยะที่ต่ำกว่ามาตรฐาน และ อื่นๆอีกมากมาย แต่ผลกระทบจากแสงสีฟ้าเนี่ย...โฆษณาไม่ได้บอกไว้เลยว่าเสียสุขภาพอย่างไร 



     ความจริงแสงก็คือคลื่นชนิดหนึ่งและมีมากว่าที่ตาเราเห็น คือเราจะเห็นแสงแค่สีแดงถึงสีม่วงเท่านั้น แสงที่ความถี่ต่ำกว่าแดงเราจะคุ้นเคยว่า Infrared สูงกว่าสีม่วงเราเรียกว่า Ultra violet ซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั้งนั้น และหลายคนก็คงรู้อีกว่า แสงทั้งสองอย่างไม่ดีต่อเรา  แต่อันตรายจากแสงสีฟ้าต่างจากนั้น คือ แสงสีฟ้าจะมีพลังงานสูงกว่าสีอื่นๆ นั่่นคือเหตุผลหนึ่งที่เรามองเห็นท้องฟ้าเป็นสีฟ้า และเมื่อเราเพ่งจอมือถือซึ่งผลิตแสงออกมาและแน่นอน แสงสีฟ้าที่ออกมาจากจอย่อมมีพลังงานสูงกว่าแสงสีอื่น ซึ่งอาจมากพอทำลายจอประสาทตาได้ในระยะยาว

     ที่ตื่นเต้นกว่านั้น คือ มีผลงานวิจัยจากนักวิทยาศาสตร์ที่รวมตัวกันศึกษาผลกระทบของการทำงานเป็นกะ พบว่าคนที่ทำงานเป็นกะ หรือ ทำงานกลางคืน มีโอกาสป่วยด้วยโรคต่างๆมากกว่าคนที่ทำงานกลางวัน โดยเฉพาะมะเร็ง และจากการศึกษาพบว่า สาเหตุมาจากการสับสนของนาฬิการ่างกายของคนเราทำให้การหลั่งฮอร์โมนผิดพลาด เนื่องจากในขณะที่เราหลับลึก ร่างกายจะหลั่งสารต่อต้านอนุมูลอิสระออกมาทำให้ลดโอกาสการเป็นมะเร็ง ดังนั้นคนที่นอนน้อยก็จะมีโอกาสเป็นมะเร็งมาก ต้องเน้นว่าการหลับลึกเท่านั้นจึงจะมีผล และสารต้านอนุมูลฯจะหลั่งหลังจากเข้าสู่ภาวะหลับลึกไปแล้วประมาณ 2 ชั่วโมง

     การศึกษาพบว่า มีแสง 2 สี ที่ส่งผลต่อระบบนาฬิกาในร่างกาย คือ แสงสีฟ้า และแสงสีเหลือง กล่าวคือ เมื่อคนเราเห็นแสงสีฟ้า ซึ่งเราจะเห็นแสงนี้ในธรรมชาติในตอนกลางวัน เช่น แสงท้องฟ้า ร่างกายจะเรียนรู้ว่าขณะนี้เป็นเวลากลางวัน และร่างกายจะเข้าสู่โหมดเตรียมพร้อมในการใช้งานร่างกาย ระบบซ่อมแซมร่างกายจะหยุดลง และเมื่อเห็นแสงสีเหลือง(แสงท้องฟ้าตอนเย็น)ร่างกายจะเข้าเรียนรู้ว่ากำลังจะมืด ร่างกายจะลดกระบวนการลง ซึ่งก็จะทำให้เราง่วงนอนนั่นเอง 

     นักวิทยาศาสตร์พบว่า การให้คนขับรถบรรทุกเห็นแสงสีฟ้าในขณะขับรถ จะทำให้คนขับง่วงนอนน้อยลง และการใช้แว่นตากรองแสงสีฟ้ากับกลุ่มตัวอย่างที่ทำงานกะกลางคืนพบว่า ร่างกายมีการหลั่งสารต่างๆที่จะมีเฉพาะตอนหลับออกมาได้โดยมิต้องนอนหลับจริงๆแต่ประการใด

     รู้แบบนี้แล้ว ก็อย่าจ้องมองจอมากไปนะครับ ... เป็นแผลที่เนื้อตัวรักษาได้ เป็นแผลที่ตานี่ต้องรอชาติหน้าเลยนะครับ...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น