วันสองวันนี้ที่ทำงานเกิดปัญหาเรื่องใช้อินเทอร์เน็ตกันไม่ได้ แต่จะว่าไปไม่ใช่แค่อินเทอร์เท่านั้น ระบบเครือข่ายใช้ไม่ได้เลยด้วยซ้ำไป คนที่ใช้คอมฯบอกว่า พอเปิดเครื่องมาก็ใช้ไม่ได้ รูปคอมข้างล่างเป็นเครื่องหมายตกใจสีเหลือง
ตอนแรกก็คิดว่าคงมีปัญหาที่เครื่องลูก แต่เอ๊ะ สักพักมีคนบ่นมากขึ้น เลยรู้สึกชักยังไงๆ เพราะตอนแรกคนกลุ่มแรกที่บ่นคือคนที่ใช้ wifi แต่นี่มาบ่นเครื่อง desktop ก็เลยเข้าเค้าว่าน่าจะมีปัญหาจากระบบ ก็ไปตรวจดูที่เครื่องลูกพบว่า network icon แสดงสถานะเป็น caution จริงๆ นั่นแปลว่ามีการเสียบสาย LAN ผ่าน switch คือสายไม่มีปัญหา แต่อาจมีปัญหาเรื่อง configuration ครับ
อย่างแรกที่ทำคือตรวจดูว่า network เชื่อมต่อกันหรือไม่ โดยใช้วิธีง่ายคือคำสั่ง ping ไปที่ router ปรากฎว่าไม่ไป อ้าว...งานเข้า อย่าพึ่งท้อแท้ครับ ลอง ping ตัวเอง (127.0.0.1) ว่าการ์ด LAN ไม่เสีย ปรากฎว่าได้ คราวนี้เลยเข้าไปดู IP ของเครื่องละครับ เพราะถ้าเครื่องไม่สามารถรับ IP จาก router ได้ ก็ไม่เเปลกที่จะใช้อินเทอร์เน็ตไม่ได้ ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้น IP น่าจะขึ้นด้วย 169.x.x.x
แท๊นๆๆ....ปรากฎว่าไม่ใช่ครับ มันขึ้นต้อนด้วย 192.x.x.x เอาละสิ...IP ที่ office ใช้เป็น IP ที่ขึ้นด้วย 10.x.x.x แล้วมันไปเอา 192 มาจากไหนนนนน..... หรือ router มัน hard reset...ตรวจดูก็ไม่ใช่ครับ
หาอยู่หลายวันพบว่า มีคนนำอุปกรณ์จำพวก Router all in one มาเสียบใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต....มันก็เลยปล่อย IP 192.x.x.x ออกมา เป็นที่มาของปัญหานี้
แล้ว IP ที่ว่านี้คืออะไร เป็นคำถามที่ผมต้องอธิบายผู้บริหารให้ทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้นเลยอธิบายแบบชาวบ้านว่า IP ก็เหมือนเลขที่บ้านของคอมพิวเตอร์ครับ ระบบจะส่งข้อมูลถูกเครื่องก็โดยอาศัยเลข IP นี้ ซึ่งเป็นเลข IP ที่ router เป็นคนจัดสรรให้ แต่ดันมีคนนำเอาอุปกรณ์บางอย่างซึ่งสามารถจัดสรรเลข IP ได้มาใช้ในวง LAN ทำให้เครื่องบางเครื่องสับสนรับ IP ผิดตัว ซึ่งเป็น IP ที่ router ไม่รู้จัก
????.... นั่นคือสิ่งที่ผุ้บริหารบอกผมทางหน้าตาครับ...งง
เอาใหม่ครับ IP คือเลขประจำเครื่องที่มาจาก 2 ลักษณะ คือ static IP และ FIX IP
static IP คือ IP ที่ไม่อยู่กับเครื่องเราตลอดไปครับ ระบบจะจัดสรรหมุนเวียนเปลี่ยนกันใช้ไปเรื่อยๆ ซึ่งคอมพิวเตอร์ของเราจะร้องหา (require) จากระบบทุกครั้งที่เราเปิดเครื่อง ถ้าไม่มีใครจ่ายคอมของเราก็จะสร้างเลขสุ่มขึ้นเองในหมวดที่ขึ้นต้นด้วย 169.x.x.x
FIX IP คือ IP ที่อยู่กับเครื่องนี้ตลอดไม่เปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะปิดเปิดเครื่องกี่ครั้ง ซึ่งก็แล้วแต่เราจะตั้ง แต่ช้าก่อน....
เลข IP ที่ว่านี่ ไม่ใช่ว่าจะตั้งอะไรก็ได้นะครับ เพราะมีหน่วยงานควบคุมเหมือนเลขที่บ้านหรือเลขทะเบียนรถครับ แต่เป็นระดับระหว่างชาติ หรือ International ครับ และเลข IP นี้ก็มีหลายหมวด แต่ละหมวดก็ใช้งานต่างกันไป ตั้งแต่ ISP ใช้ จนถึงชาวบ้านตาดำๆอย่างเราๆ
โดยปกติผุ้ให้บริหารอินเทอร์เน็ตก็จะจ่ายเลข IP มาให้เรา 1 ชุด ซึ่งส่วนมากมักเป็นไม่ถาวร หรือ Static IP นั่นเอง แต่หน่วยงานใหญ่ๆอาจจะมีความจำเป็นจะต้องใช้ FIX IP ก็สามารถขอใช้ได้จากผุ้ให้บริการอินเทอร์เน็ต และแน่นอนต้องจ่ายเงินเพิ่มครับ
เลข IP ที่ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต หรือ ISP จ่ายมาให้จะอยู่ที่ Router กล่องเหลี่ยมๆที่ช่างเอามาติดตั้งให้เรา แต่เครื่องในบ้านหรือในสำนักงานจะไม่ได้เลข IP จาก ISP นะครับ เพราะเขาให้ชุดเดียว....แล้วทีนี้จะทำยังไง???...ไม่ต้องสงสัยครับ (และไม่เคยมีใครสงสัย) ... Router ที่ช่างเอามาติดตั้งให้จะมีความสามารถในการจ่ายเลข IP ให้กับอุปกรณ์ในบ้านของเราโดยเป็นเลขอีกหมวดหนึ่งซึ่งสงวนไว้ใช้ในระบบ LAN (Local area network) ซึ่งเลขสำหรับ LAN นี้มักใช้อยู่ 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่ขึ้นต้นด้วย 192 และกลุ่มที่ขึ้นด้วย 10
Router ที่ติดตั้งตามบ้านมักมีความสามารถไม่สูงนัก รองรับอุปกรณ์ได้ไม่กี่ชิ้น มักกำหนดเลข IP ในหมวด 192.168.1.x ให้กับอุปกรณ์ในบ้าน ความสามารถในการจัดสรรเลข IP นี้เรียกว่ากันติดปากว่า DHCP server
IP ในหมวด 192 นี้จะมี Subnet mark อยู่แค่ class C คือ รองรับอุปกรณ์ได้แค่ 255 อุปกรณ์ตามทฤษฎี ซึ่งตามบ้านทั่วไปคงใช้ไม่หมด แต่หน่วยงานขนาดใหญ่จะใช้หมวด 10 เนื่องจากมี Subnet class เป็น class C (คิดแบบชาวบ้านนะครับ)......งงละสิ...
เอาแบบชาวบ้านรู้นะครับ...สังเกตุดูเลข IP 1 เลข จะมีจุดขั้นแบ่งเลขเป็น 4 ชุด....นั่นละครับ class ที่ว่า ชุดหลังสุดคือ class C ชุดรองสุดท้ายคือ class B ชุดที่ 2 คือ class A นอกจากเลข IP แล้วยังมีส่วนประกอบที่เรียกว่า Subnet mark ด้วย ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับเลข IP เลย แต่มักใส่เลขกันอยู่แค่ 2 ค่า คือ 255 กับ 0 (ใส่อย่างอื่นก็มีนะครับ เซียนเขาใช้กัน) เช่น 255.0.0.0 เป็นต้น ซึ่ง Subnet mark นี้ก็เปรียบได้กับการแบ่งชั้นวรรณะ ใครเลข 0 มากกว่าคนนั้นวรรณะสูงกว่า ประมาณนั้นนะ
ว่ากันแบบบ้านๆ คือ ถ้า subnet mark เป็น 255.255.255.0 แล้ว IP ที่จะใช้งานได้ในบ้านนี้คือ 3 ชุดหน้าต้องเหมือนกันเท่านั้น เช่น 10.1.1.1 ถึง 10.1.1.255 เป็นต้น แต่หาก subnet mark เป็น 255.0.0.0 นั่นหมายถึงเลข IP ต้องเหมือนกันเฉพาะชุดแรกเท่านั้น เช่น 10.1.1.255 ถึง 10.255.255.255 เป็นต้น ซึ่งจะเห็นว่า class A จะมีเลข IP ให้ใช้อย่างมากมายมหาศาล
แต่อย่างไรก็ดี IP ที่สงวนไว้ใช้สำหรับ LAN นั้นจะมี 2 หมวด คือ 192.168.x.x กับ 10.x.x.x ซึ่ง 2 ชุดนี้จะมองไม่เห็นกัน ดังนั้น ท่านผุ้อ่านคงเข้าใจแล้วว่า เวลาขโมยเครื่องจาก office กลับไปที่บ้านแล้วทำไมถึงเล่นอินเทอร์เน็ตไม่ได้ ก็เพราะหน่วยงานใหญ่มักใช้เลข IP หมวด 10 และมักใช้ระบบ FIX IP เพื่อการติดตามข้อมูลว่าใครโพสต์ด่าเจ้านายบ้าง 555+... ถ้าจะทำให้ใช้งานที่บ้านได้ก็ต้องตั้งค่า network หรือ ค่า IP ใหม่ให้ตรงกับ Router ที่บ้าน (ถ้าเขาไม่ล็อคไว้นะ)....อยู่ที่ทำงานใครชอบโพสต์ด่าเจ้านายก็ระวังนะครับบบบบบ เดี๋ยวจะหาว่าไม่เตือน...อิอิ..อิ..อิ
ปล. บทความข้างต้นเป็นเรื่องของ IP ชนิด IPV4 ซึ่งขณะนี้มี IPV6 ออกมาใช้เพื่อแก้ปัญหา IP เต็ม
ปล.2 บทความนี้พยายามอธิบายคนที่มีความรู้เรื่อง IP เป็นศูนย์ จึงพยายามละส่วนที่เป็นด้าน Technic ออกไป บางอย่างอาจไม่ถูกต้องนัก แต่ก็เพื่อความเข้าใจแบบเรียบง่าย หากจะนำไปใช้งานควรศึกษาเพิ่มเติมครับ
Bye...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น