วันศุกร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2557

วงโยฯขอทาน !!!???

     กระแสรุนแรงเรื่องวงโยฯสว.2 ไปขอยืมเงินคุณตันกลายเป็นเรื่องโด่งดังไปทั่วทุกที่...ครั้งแรกที่ผมเห็นเรื่องนี้คือ Facebook ซึ่งศิษย์เก่าท่านหนึ่งแชร์มาให้พร้อมคำถามว่า "ไหงทำงี้" ผมเปิดดูก็เห็นว่า มันคือคลิปที่(ใครสักคน)บรรยายเกี่ยวกับการได้รับเชิญไปแข่งที่ต่างประเทศแต่งบยังไม่มา...

     จะไม่โพสก็เห็นว่าใครก็รู้กันหมด ทั้งคนในคนนอกวงการ คนไม่ได้เกี่ยวข้องกันการศึกษายังพูดกันเลย ผมเลยเกิดความรู้สึกเหมือนอยู่ตรงกลางยังไงก็ไม่รู้...เอาเป็นว่า นี่เป็นความเห็นส่วนตัวของผมก็แล้วกัน ใครไม่คิดอย่างผมก็อย่าใสใจละกันครับ

     สิ่งที่เกิดขึ้น ไม่แปลกเลยสำหรับผม  นี่คือมาตรฐานของวงจรนี้ด้วยซ้ำไป  วงโยฯบ้านเราก็มีแต่เด็กระดับมัธยมเล่นกัน แล้วก็ชอบได้รับเชิญไปแข่งต่างประเทศ  โรงเรียนก็ชอบอนุมัติ  หน่วยงานกลางก็ชอบเห็นด้วย  แต่คลังมักไม่ชอบจ่ายเงิน!!!

     แล้วจะทำยังไง....ผมขออนุญาต "แฉ"เลยละกันว่า ทุกโรงเรียนที่ไปแข่งต่างประเทศ ก็ระดมทุนกันทั้งนั้น จะด้วยวิธีใดเท่านั้นเอง และงบก็ว่ากันเป็นสิบล้านทุกที  เด็กๆเองก็ต้องเดือดร้อนออกตังค์ ผมเคยไปมีทีนึง เด็กออกต้งค์คนละ 4 หมื่น มีบางคนไม่มีตังค์ ครูก็เลยต้องเก็บเกินจริงเอาไปถัวกับคนที่ไม่มีตังค์

     อย่าว่าแต่ไปต่างประเทศเลย แค่แข่งในประเทศยังขอกันตลอด มีทุกรูปแบบตั้งแต่ขอสนันสนุนจากห้างร้าน ผู้ปกครอง ทอดผ้าป่า หรือ แม้แต่ให้นักเรียนเดินเรี่ยไร...ผมเห็นเด็กเดินขอบริจาคแล้ว ขอบอกว่าน้องๆบางคน เกินค่าตัวจริงๆ ยกมือไหว้ท่วมหัว...พ่อแม่มาเห็นคงน้ำตาไหล

     เนี่ย...คือวงจร....วงจร....(เรียกวงจรอุบาทว์ดีไหม?)....วงจรที่ผู้ใหญ่นี่แหละสร้างขึ้น  เหตุเพราะค่าใช้จ่ายกิจกรรมนี้มีสูง แต่โรงเรียนไม่มีเงินจ่าย  แถมมีค่านิยมเรื่องชื่อเสียงมาสนับสนุนอีก

    ผู้ใหญ่ที่ผมจะขอกล่าวถึง คือ ผู้ใหญ่ทางระบบ ไม่ระบุตัวนะครับ...อย่างแรกคือ รัฐ...เรื่องภาษีเครื่องดนตรี ที่ถือว่าเครื่องดนตรีเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย ภาษีสูงปรี๊ด จนราคาวงโยฯวงหนึ่งๆว่ากันเป็นหลักสิบล้าน ไม่เคยคิดจะสร้างระบบยกเว้นภาษีให้โรงเรียน แม้แต่โรงเรียนรัฐบาลซื้อเองก็ตาม เครื่องดนตรีรุ่นเดียวกัน บ้านเราขายห้าหมื่น ประเทศต้นทางขายหมื่นเดียว  ซื้อเครื่องดนตรีวงนึง สิบล้าน เป็นต้นทุน 2.5ล้าน ภาษีซะ 5 ล้าน  เจ๊กบวกไปอีก 30-40 เปอร์เซนต์...นั่นแหละราคา...ลองคิดกันดูขำๆนะครับ ถ้านโยบายรัฐสนับสนุนจริงๆ ก่อนจะหาเงินมาทุ่มให้เป็นสิบ ยี่สิบล้าน การยกเว้นภาษีจะทำให้ราคาจะลดลงไม่น้อยกว่าครึ่ง...ที่ตลกคือ โรงเรียนรัฐก็ใช้งบรัฐซื้อ ซึ่งก็มาจากภาษี....ขำๆ โง่ๆ ก็คือเก็บภาษีเจ็กขายเครื่องดนตรีมาซื้อเครื่องดนตรีเข้าโรงเรียน...แล้วจะคิดภาษีเพื่อ!!!.....???

       ผู้ใหญ่ที่สองคือผู้บริหารโรงเรียน คนไม่ทำก็ไม่เอาเลยยย  คนจะทำก็บ้าสุดขีด นานๆจะเจอคนที่มองภาพกว้างรวมๆได้ซักคน อย่างอดีต ผอ.โรงเรียนนี้(เนี่ยแหละ)ท่านหนึ่ง อยากให้โรงเรียนมีดนตรี อยากเห็นเด็กซ้อมมีความสุข แถมบล็อคไว้ด้วยว่า "ไม่แข่งนะ" แต่ก็มีแย้มๆว่า ถ้าพร้อมจริงๆค่อยว่ากัน ส่วนเรื่องงบท่านก็บอกว่า ค่อยเป็นค่อยไป มีเงินก็ซื้อ ให้ครูวางแผนยาวๆ....แต่ทว่า ส่วนใหญ่ไม่เป็นแบบนี้ เจอคนบ้าเข้าไป ทุ่มซื้อเครื่องดนตรีเยอะแยะ จ้างครูระดับเทพเจ้ามาสอน ดูดเด็กที่อื่นมาเล่น ทำทุกอย่างเพื่อชัยชนะ ซึ่งโรงเรียนหรือตัวของผู้บริหารหรือครูอาจได้ประโยชน์จากตรงนี้ แล้วเด็กล่ะ ได้อะไร? ให้ซ้อมๆๆๆๆแข่งๆๆๆๆ   ชนะ!...แต่ไม่ได้เรียนหนังสือ... อยากจะบอกว่า บางครั้งสิ่งที่ผู้ใหญ่ระดับนี้ทำ มันเหมือนคลื่นสึนามิที่มีผลกระทบระยะยาวไปอีกหลายปี...โรงเรียนเปลี่ยนไป เด็กเปลี่ยนไป  วัฒนธรรมเปลี่ยนไป...ท่านได้สร้างอะไรบางอย่างไว้ ซึ่งบางอย่างเด็กไม่น่าจะมี เช่น การทำทุกอย่างเพื่อตนเองและพรรคพวก เช่น การไปดูดคนอื่นมาจากโรงเรียนอื่น เพื่อเสริมสร้างตัวเอง ปล่อยให้วงเดิมของเขาพินาศพนาสูญไป มันเป็นคุณลักษณะจิตใจคับแคบที่ไม่ควรปลูกฝังให้เด็กมิใช่หรือ...

     ผู้ใหญ่ที่สามคือ ผู้จัดแข่ง ผมขอไม่เอ่ยไปถึงผู้จัดในต่างประเทศนะครับ เพราะเขาไม่รู้วัฒนธรรมของเราแต่ประการใด  ผมเคยเสนอในที่ประชุมประกวดว่า กติกาข้อหนึ่งที่ควรกำหนดไว้ คือ ต้องไม่ใช้เวลาเรียนในการซ้อมอย่างยาวนาน เช่น ไม่เรียนเป็นเทอมๆ เป็นต้น ผลคือ แทบโดนถีบออกจากห้องประชุม  เดี๋ยวนี้การประกวดวงโยในบ้านเรามีหลายสนาม ห้วงเวลาก็ไม่ค่อยจะดี เช่น ช่วงเดือนมกราคม เป็นเดือนสอบกลางภาค มีหลายวงเด็กไม่ได้สอบ หลายวงเด็กไปสอบแบบกามั่ว เพราะเข้าค่ายซ้อมยาวตั้งแต่ตุลาคม นอนโรงเรียน เปิดเทอมมาก็ว่าไม่ทัน ต้องงดเรียนซ้อมๆๆๆๆๆ รู้ตัวอีกทีเด็กไม่ได้เรียนมา 2 - 3 เดือนแล้ว 

   ผู้ใหญ่ที่สี่ คนเนี้ย โดนหนัก...ก่อนจะโดน ขอเข้าข้างก่อนครับ การประกวดวงดนตรีเนี่ย ไม่ได้ประกวดแบบวิ่งแข่ง ไม่มีที่หนึ่ง ไม่มีที่โหล่ แต่เป็นการแข่งแบบสอบในโรงเรียนนั่นแหละ เกิน 80 ก็ได้เหรียญทองทุกวงนั่นแหละ แต่บ้านเรา ชอบเหลือเกิน การเปรียบเทียบว่าใครเก่งกว่ากัน แม้กรรมการจะไม่บอก มันก็เที่ยวไปขุดคุ้ยหา หาไม่ได้ก็เดากันไปเดากันมา แล้วก็ชอบเดาเข้าข้างตัวเอง....ที่จะบอกคือ น้องๆเขาไปแข่งกะใคร คำตอบคือแข่งกับตัวเองครับ มีโอกาสได้เหรียญทองแดงหรือตกรอบเหมือนกัน  ฝรั่งเขาไม่เหมือนคนไทยนะ มีร้อยวง ตกรอบทั้งร้อยวงก็ได้ ไม่มีกันที่ 1 2 3 ไว้หรอก ... เรื่องเชิญเนี่ย ฝรั่งเขาถือนะครับ สิทธิ์ส่วนบุคคล เราไม่อยากไปเขาไม่เชิญหรอก ทุกปีเป็นเช่นนี้ อาจมีบ้างที่คณะกรรมการประกวดคุ้นเคยกับโรงเรียนหรือครู ก็เอ่ยปากหรือส่งจดหมายมาบอกว่า เฮ้! เราจะจัดประกวดละนะ ยูจะเข้าประกวดไหม? บางรายการก็ส่งไปตามรายการประกวดในประเทศ ก็เป็นสิ่งถูกต้องที่จะต้องให้โควต้าแชมป์หรือวงที่มีผลงานดีไปแข่ง แบบเดียวกับประกวดนางงามนั่นแหละ  แต่ถามว่าแชมป์ต้องไปไหม?...ไม่ต้องก็ได้ครับ....ไม่แชมป์ไปได้ไหม?....ได้ครับ  ไม่เคยประกวดยังไปได้เลย มีเงินไปหรือเปล่าเท่านั้นแหละ

     ทีนี้ ครูคุมวงเองนั่นแหละ ที่จะบอกเด็ก หรือ ปลูกฝังเด็กอย่างไร...ผมเข้าใจว่าทุกคนไม่ได้ดีทุกด้านรวมทั้งตัวผมเองด้วย แต่ผมอยากบอกว่า ครูเป็นอย่างไรเด็กก็เป็นอย่างนั้น สิ่งที่ผมวิงวอนเพื่อนๆ น้องๆ (พี่ๆบอกไม่ได้) ที่สอนวงดนตรีโรงเรียนทุกคนมาเสมอ และอยากนำเสนอถึงครูวงโยทุกท่าน คือ
1. เด็กไม่ใช่หนูทดลอง
2. พ่อ-แม่ เขาส่งลูกเขามาเรียนหนังสือ
3. มีไม่มากที่อยากให้ลูกเป็นนักดนตรี
4. ความต้องการของตลาดดนตรีมีน้อยมาก
5. ดนตรีมีไว้เล่นกับเพื่อน ไม่ใช่ศัตรู
ดังนั้น อย่าสั่งสอนอะไรที่ยังไม่ได้พิสูจน์ว่าดีต่อตัวเด็กจริงๆ อย่าให้เด็กออกมาจากห้องเรียน อย่ายัดเยียดความเป็นนักดนตรีให้กับเด็กถ้าเขาไม่ต้องการจริงๆ เพราะมันจะจบมาแบบไม่มีงานทำ  ที่สำคัญผมจะสอนน้องๆและลูกศิษย์เสมอว่า ชัยชนะจากการประกวดไม่ได้พิสูจน์อะไรเรา เพียงแค่เราซ้อมให้เล่นได้อย่างที่ต้องการ นั่นก็คือชัยชนะอันยิ่งใหญ่กว่าสิ่งใดทั้งมวล เพราะมันคือการเอาชนะใจตนเองได้ขั้นหนึ่ง แล้วถ้าอยากเก่งจริงๆเราต้องมีเพื่อนมากๆ แล้วเราจะสามารถพัฒนาได้หลายรูปแบบกว่าการอยู่ในกะลา ....(จริงๆแล้วเทศนาเรื่องนีได้ทั้งวัน)

     ชื่อเสียงเป็นสิ่งที่คนเราต้องมี ความฝันเป็นสิ่งที่เราต้องตามหา เด็กเขาก็มีความฝันของเขา......... อย่าใช้เด็กเป็นเครื่องมือเลยนะครับ .... เราได้สองขั้นหนึ่งที แต่เราทำลายเด็กทั้งชีวิตหรือเปล่า?

     กิจกรรมของโรงเรียนเป็นสิ่งที่ควรมีเป็นอย่างยิ่ง แต่เราไม่ควรสุดโต่ง  จริงแล้วการวิเคราะห์ผลดี-เสียระบบการศึกษาบ้านเรามีตัวช่วยอย่างดีเลย คือการศึกษาของญี่ปุ่น เราใช้ระบบเดียวกันเปี๊ยบ แต่เขาทำอะไรจริงจัง แปบเดียวเห็นผลละ ดูบอลโลกประไร จะว่าไปเขานำหน้าให้เราดูแล้วว่าอะไรดีไม่ดี ...โรงเรียนญี่ปุ่นเน้นกิจกรรมมาก เด็กทำกิจกรรมกันเอาเป็นเอาตาย ซ้อมเช้าซ้อมบ่าย แต่เวลาเรียนก็จริงจังเหมือนกัน...คนไทยที่ไปครูอยู่ที่นั่นให้ความเห็นกับสื่อว่า ญี่ปุ่นควรลดกิจกรรมลงบ้าง ไทยควรมีกิจกรรมให้เด็กมากกว่านี้...นั่นเพราะกิจกรรมของเด็กนักเรียนญี่ปุ่นมากจากเด็กไม่มีเวลาทำอย่างอื่น คือเรียนแล้วก็ซ้อม มันสร้างคนได้แต่มันก็อาจจะมากไปหน่อย เสาร์-อาทิตย์ไม่ได้หยุดเลย  แต่ของไทยก็น้อยไป เน้นไปที่ห้องเรียนจนเด็กทำอะไรไม่เป็น(ดูให้รู้ โรงเรียนมัธยม)

     ....พ่อ-แม่เขาไว้ใจเขาถึงเอาลูกมาฝากไว้กับเรา หวังว่าเราจะสั่งสอนให้ลูกเป็นคนเก่งเป็นคนดี เขาอยากให้ลูกทำอะไรได้มากกว่าหนึ่ง ไม่ใช่แค่ท่องตำราอย่างเดียว  เรา รูงโ ก็ช่วยสนับสนุนให้เด็กของเรามีมากกว่าหนึ่งอย่างที่เขาคาดหวัง อย่าฉุดลากให้เขาต้องละทิ้งหน้าที่หลักของเขาเลย  ชาติยังต้องการอนาคตของเขาในการสร้างชาติอีกเยอะ ดนตรีทำได้แค่บำบัดจิตใจ เต็มที่ก็แค่สงเสริมการพัฒนา EQ  มันให้เด็กไปดาวอังคารไม่ได้หรอก...แค่ซื้อข้าวกินยังลำบากเลย!

   



วันพุธที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2557

อันดับการศึกษาไทยในอาเซียน






     เราคงเคยได้ยินกันมานักต่อนักแล้วว่า การศึกษาไทยในอาเซียนเราอยู่อันดับรั้งท้ายตามหลังลาว และกัมพูชา(ซะอีก) ซึ่งสร้างความตกใจให้แก่ผู้รับทราบข้อมูลนี้ไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะบุคลากรทางการศึกษาคงอึ้ง ทึ่ง งง ว่ามันเป็นไปได้ยังไง?


     จากข้อมูลที่ว่า หลายคนคงเข้าใจโดยอัตโนมัติว่าคุณภาพทางการศึกษาบ้านเราอ่อนด้อย ประสิทธิภาพของโรงเรียนไม่เอาไหน ครูไม่ได้เรื่อง สู้ลาวก็ไม่ได้..บลาๆๆ... แต่เดี๋ยวก่อนครับ...

     ในความเป็นจริง การประเมินจัดอันดับการศึกษาที่หลายๆคนเอามาใช้ทิ่มแทงครูนั้น ไม่ใช่การเอาผลการสอบของผู้เรียนมาเปรียบเทียบกันด้วยวิธีการตรงๆหรือสูตรซับซ้อนที่ไหน และไม่ใช่การประเมินจากความสามารถทางการเรียนของนักเรียนด้วยซ้ำไป...แล้วอันดับมาจากไหน?..

     อันดับที่ว่านี้ เป็นข้อมูลที่จัดทำโดย WEF หรือ World Economic Forum ซึ่งจัดอันดับทั้งโลก(ที่เป็นสมาชิกเข้าร่วมโครงการประเมิน) โดยข้อมูลมาจากการจัดทำอันดับความสามารถทางการแข่งขันนานาชาติ ซึ่งก็มีการประเมินหลายด้าน ทั้งเศรษฐกิจ สังคม การเมือง รวมถึงการศึกษาด้วย โดยแบ่งการพิจารณาออกเป็น 3 หมวด ได้แก่ ปัจจัยพื้นฐาน ปัจจัยการยกระดับประสิทธิภาพ และปัจจัยนวัตกรรมและศักยภาพทางธุรกิจ

     ทั้งนี้ วิธีได้มาซึ่งข้อมูล WEF จะให้น้ำหนักกับการสำรวจความคิดเห็นและการให้คะแนนของผู้ประกอบการภาคธุรกิจถึง 2 ใน 3 อีก 1 ส่วนจะมาจากข้อมูลทางสถิติขององค์กรต่างๆของสหประชาชาติ ซึ่งจะเห็นว่า ไม่มีการนำข้อสอบมาวัดเทียบกันแต่อย่างใด!

     WEF ประเมินการศึกษาไทย 2 ระดับ คือ ประถม และการศึกษาขั้นสูงอันรวมถึงมหาวิทยาลัยด้วย ซึ่งผลก็คือ ด้านประถม(ซึ่งรวมถึงการสาธารณะสุข) ไทยอยู่ที่ 81 ของโลก และที่ 7 ของอาเซียน
     ด้านการศึกษาขั้นสูง ไทยอยู่ที่ 66 ของโลก และที่ 5 ของอาเซียน


     โปรดอ่านท้ายตาราง...จะเห็นว่าคะแนนมาจากการให้คะแนนของสถานประการในธุรกิจ ซึ่งเป็นเรื่องของมุมมองและความคาดหวังของผู้ประกอบการที่มีต่อการศึกษาว่า มีความสามารถในการตอบสนองต่อการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศเพียงใด

     นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานอื่นซึ่งประเมินการศึกษาของแต่ละประเทศด้วยแง่มุมที่ต่างออกไป เช่น IMD ซึ่งแสดงดัชนีด้านต่างรวมถึงด้านการศึกษาที่ดูแล้วละเอียดยิบๆ ไม่ว่าจะเป็นดัชนีด้านการพัฒนามนุษย์ ด้านการเรียนรู้ของเพียร์สัน(การเรียนรู้โดยใช้สติปัญญา) ดัชนีTIMMS(ผลการเรียนคณิต วิทย์)  ดัชนีเพิร์ล(ทักษะการอ่าน) แต่ก็ยังคงใช้ข้อมูลจากความคิดเห็นของภาคธุรกิจต่อคุณภาพทางการศึกษาในการตอบสนองความต้องการของระบบเศรษฐกิจและภาคธุรกิจ

       ภาษาบ้านๆง่ายๆก็คือ คะแนนนี้มาจากการไปถามผู้ประกอบการว่า การศึกษาของไทยดีหรือไม่? ให้
คะแนนเท่าไหร่?... ซึ่งแน่นอน ผู้บริหารภาคธุรกิจย่อมมองว่า แรงงาน และลูกจ้างของตนนั้นมีประสิทธิภาพเป็นอย่างไร โดยเฉพาะช่วงรับมาทำงานใหม่ๆ ซึ่งสามารถพิจารณาได้ว่า สิ่งที่เรียนรู้มาจากระบบการศึกษาสามารถนำใช้ปฏิบัติงานได้มากน้อยเพียงใด

     ถ้าไม่นับรวมอคติของผู้บริหารภาคธุรกิจ เราคงต้องยอมรับความจริงกันว่า สิ่งที่เรียนในโรงเรียนหรือในมหาวิทยาลัย สามารถนำไปใช้ในการทำงานได้เพียงครึ่งเดียวหรือไม่ถึงครึ่ง  พนักงานใหม่ต้องเข้ารับการอบรม เทรนนิ่ง ศึกษางานเป็นหลายๆเดือนกว่าจะเทิร์นโปร พูดง่ายๆคือ ต้องไปเรียนรู้งานที่ต้องทำกันใหม่

     คำถามคือ เราสอนและเรียนอะไรกันอยู่ ในเมื่อเด็กไทยเรียนมากเป็นอันดับต้นๆ น้องๆญี่ปุ่น แต่ทำไมเรียนแล้วถึงนำไปใช้ไม่ได้ หรือเราเรียนสอนกันไปแบบวันต่อวัน ให้สอนอะไรก็สอน ให้เรียนอะไรก็เรียน วัดกันที่ว่า สอบได้ที่เท่าไหร่ เกรดอะไร ไม่ได้มองไปถึงอนาคตของความรู้ที่จะนำไปใช้ หรือไม่ก็ลืมไปแล้วว่าเราเรียนวิชานี่เพื่ออะไร

     สิ่งที่ท่านๆอ่านแล้วจะได้รู้เสียที คือ อันดับการศึกษาของไทยร่วงหล่นอยู่รั้งท้าย คงมิใช่เพราะทำข้อสอบได้คะแนนน้อย แล้วก็เอาข้อมูลมาทิ่มแทงครูว่าไร้ประสิทธิภาพ ตกอกตกใจกันไปเรื่อย ลามปามไปถึงการวัดผลทางการศึกษาระดับชาติ ที่เร่งเอาเป็นเอาตาย มุ่งจะเพิ่มคะแนนสอบให้สูงขึ้นทุกปีๆจนต้องเอามาโยนบาปใช้ประเมินความดีความชอบให้ครู        แต่เป็นเพราะภาคธุรกิจไม่มีความมั่นใจต่อระบบการศึกษา คือ เรียนแล้วทำงานไม่ได้จริงว่าอย่างนั้น  แล้วบุคลากรทางการศึกษาจะพิจารณาเรื่องนี้กันอย่างไร ก็ตามแต่จะเห็นกัน 
     แค่ไม่อยากให้เข้าใจว่าเด็กไทยไร้สมอง ทำข้อสอบสู้เพื่อนบ้านไม่ได้....ก็เท่านั้น....

วันอังคารที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2557

wifi SD card + iPad

     สวัสดีครับ หายไปนานมากกก เนื่องจากมีภาระกิจติดพัน หันไปทำงานอื่นเสียมาก ไม่มีเวลามาโพสบล็อกเลย จริงๆ เรื่องนี้ก็กะว่าจะโพสนานแล้ว แต่ตอนแรกยังไม่โพสเพราะยังไม่ได้ลอง พอลองแล้วก็ไม่ได้โพส(ลืม)...อะเข้าเรื่องดีกว่า...
     เรื่องมีอยู่ว่า จากที่เคยใช้สาย USB เสียบ sync กล้องกับคอมด้วยโปรแกรม LR แล้ว ก็อย่างที่บอกครับ ไฟดูดเป็นปัญหาใหญ่ ไม่ใช่แค่กังวัลเรื่องไฟจะดูดตายนะครับ(มันไม่แรงขนาดนั้น) แต่เป็นห่วงกล้องนี่สิ ไฟรั่วแบบนั้นกล้องต้องได้รับอานิสงค์ไปด้วยแน่ๆ ซึ่งเป็นเรื่องไม่ดีแน่นอน เลยตัดใจซื้อ wifi SD card ซึ่งตอนที่ซื้อก็หาเจออยู่ยี่ห้อเดียว(ที่ขายในไทย) ก็คือ Eye-fi
ตอนที่ผมซื้อมี 2 รุ่น และ 2 ขนาด คือ Pro กับ ธรรมดา ข้อแตกต่างหลักๆคือ รุ่น Pro จะส่งไฟล์ RAW ได้ ขนาดตอนนั้นก็มี 4 GB และ 8 GB คนขายบอกให้คอย 16 GB กำลังจะมา...ผมรอไม่ไหวละ สอยแล้วล่ะ
     ผมก็คงเหมือนกับท่านๆที่เข้ามาอ่านล่ะครับ กว่าจะซื้อได้ ก็มีคำถามมากมาย คุ้มไหม? ใช้งานได้จริงรึเปล่า? กินแบตรึเปล่า? ฯลฯ เพราะราคาค่าตัวก็ไม่ใช่น้อยๆ ตอนผมซื้อก็สามพันกว่า เหงื่อตกเหมือนกัน แต่ก็คิดในใจว่าคงลดขั้นตอนในการถ่ายไฟล์ไปลงคอมได้ไม่มากก็น้อยน่า....แต่ปัญหาก็เกิดอีก...
     ผมซื้อมาโดยมีจุดประสงค์แรกคือใช้ในสตูฯ(จำเป็น)ที่ต้องถายภาพนักเรียนเป็นร้อยๆ พอใช้ไปสักพัก...ติดใจแฮะ...แต่อยากจะบอกว่าการส่งไฟล์ RAW เต็มไซส์นั้น ช้าเหลือจะเอ่ย แต่ก็นะ กว่านักเรียนหนึ่งคนจะผ่านกระบวนการกว่าจะได้ถ่ายจริงๆก็ตกคนละ 4 - 5 นาที ก็นานพอจะส่งไฟล์ทางไร้สายได้โดยไม่ต้องมาถอดการ์ดไปเสียบคอมตอนหลังละกัน
     พอออกสนามก็อยากให้มีคอมติดตัวไปด้วย...ปรากฎว่า...มี APP ในสมารท์โฟนทั้งค่ายหุ่นเขียวและแอปเปิ้ลให้เลือกใช้...โอวววว...พระเจ้าจอร์จมันยอดมากกกก ถ่ายปุ๊ป ภาพไหลลง iPAD ปั๊ป แชร์ปุ๊ป! ไปสัมนา ทริปเที่ยวกับเพื่อนๆ Online กันทันที...สุดยอด! 
     วิธีการของเจ้าการ์ด Eye-fi นี้ก็คือ มั้นจะส่งสัญญาณ wifi ออกมาจากการ์ด โดยไม่ต้องพึ่งความพิเศษใดๆของกล้อง กล้องธรรมดาก็ใช้ได้ แต่พอดีเจ้า D7000 ของผมมันรู้จัก wifi SD ซะด้วย แต่ประโยชน์ที่ผมได้ใช้ก็คือ ดูได้ว่ามันกำลังส่งไฟล์อยู่หรือกำลังอึ้งอยู่...
     วิธีใช้งานก็คือ ขั้นแรกต้องตั้งค่าการใช้งานก่อน ซึ่งก็มีอยู่หลายลักษณะพอสมควร ตั้งแต่จะให้ใช้ wifi อันไหน หรือจะโหมด Direct  จะส่งเข้าคอมเครื่องไหน โทรศัพท์ หรือ แท๊ปเลตเครื่องไหน ส่งไฟล์อะไรบ้าง jpeg อย่างเดียว หรือ RAW หรือส่งทุกอย่างรวมทั้งไฟล์ VDO ด้วย..."-.-


     ผมทำแบบนี้ครับ (คิดแล้วก็รู้สึกดีที่เลือกเจ้า D7000 ที่มี 2 แม็ก) ผมเอาSDการ์ดปกติใส่ไว้ช่องที่1 ตั้งค่ากล้องให้บันทึกไฟล์ RAW เอา Eye-fi ใส่ช่อง2 ตั้งให้บันทึกไฟล์ jpeg  ก่อนจะเอา Eye-fi ไปใช้ ผมก็ตั้งค่าให้เป็น Direct mode ให้ส่งไฟล์แบบส่งเสร็จลบเลยไม่ต้องบันทึกลงการ์ด  พอเสียบการ์ดเข้ากล้อง ก็จัดการเอา iPAD ติดตั้งแอพของ Eye-fi ที่มีให้โหลดได้ฟรีซะก่อน แล้วก็ทำโปรไฟล์ wifi ให้ต่อได้กับ Eye-fi  พอต่อกันติดก็ ยิงๆๆๆๆๆแล้วก็ยิงๆๆๆๆๆ การ์ดธรรมดาช่องหนึ่งเต็มก็เปลี่ยนการ์ดอันใหม่ เจ้า Eye-fi ช่องสองไม่มีวันเต็ม เพราะตั้งค่าไว้ให้ส่งไฟล์เข้า iPAD แล้วลบเลย ... ผมเคยไปทริปหมดเมม 16 GB ไป 2 อัน 32 GB อีก 1 อัน อันละสองรอบ ผมไม่เคยถอด Eye-fi ออกจากกล้องซักกะที ยังได้อีกต่อคือ ผม sync อัลบั้ม camera roll ไว้กับ Google พอถึงบ้าน รูปที่อยู้ใน iPAD ก็ทยอย copy ไปลงใน google+ หรือ picasa หรือ iCloud หรือ อื่นที่เราชอบได้เองโดยไม่ต้องทำอะไรเลย...555+


...แต่เดี๋ยวก่อน...
     ปัญหาที่พบคือ อย่างที่บอกครับ ไฟล์ RAW อืดสุดๆ ที่สำคัญ เผลอตั้งค่ากล้องผิดปล่อยไฟล์ RAW เข้า iPAD ได้ล่ะก็...หุหุ.. ส่งช้าไม่ว่า แอพของ Eye-fi เอง กลับเปิดภาพไฟล์ RAW ไม่ได้ เห็นแค่เป็น Thumbnail ที่เจ็บกว่านั้น ไฟล์ถูกแปลงเป็น TIFF โอนเข้า LR ก็มีปัญหาไม่น้อย แถมแอพดูไฟล์ RAW ก็หายาก หรือไม่ก็ แพงงงส์ 
     ถามว่า Eye-fi กินแบตไหม...ขอตอบว่า พอสมควรเลยครับ แต่ก็ไม่ได้มากมายจนถึงกับจอดตั้งแต่หัววันเพราะแบตหมดแต่ประการใด  จากการใช้งานจริง ผมถ่ายเรื่อยๆทั้งวัน ก็ใช้แบตประมาณ 2 ก้อน เพราะไฟล์ jpeg ส่งเร็ว ที่สำคัญจุดประสงค์ของผมคือใช้ไฟล์ jpeg แชร์ตาม social ดังนั้นผมจึงตั้งขนาดเป็น M เท่านั้น พอส่งเรียบร้อยมันก็จะสลีปละ และผมเองก็ไม่ได้ตั้งหน้าตั้งตาคอยมันส่งจนเสร็จ พอไม่ได้ถ่ายซักพัก เช่นขึ้นรถ ผมก็ปิดกล้อง พอช่วงที่เราลงเดินเปิดกล้องถ่าย การ์ดมันก็จะ"แอบ"ส่งไฟล์ไปเรื่อยๆ รู้อีกทีมันก็ส่งครบหมดแล้ว....ซำบายยยย...ช่วงอยู่บนรถก็เอารูปที่ iPAD ได้รับ แชร์ไปตาม social รับ like กันไปเต็ม...ก็เล่นแชร์กันซะเกือบจะ real time ขนาดนั้น กล้องอื่นภาพยังนอนอยู่ใน mem อยู่เลยยย...พี่น้องคร๊าบบบบ.....

     สมครซื้อไหม?....ต้องพิจารณาความต้องการของแต่ละคนครับ อย่างผม iPAD ก็มีอยู่แล้ว ซื้อ eye-fi มาก็เพื่องานสตูฯ...แต่ช่วงว่างงานสตูจะเก็บไว้เฉยๆทำไมล่ะ....ได้ประโยชน์ในงานสตูเต็มๆครับ แต่ออกทริปเนี่ย ขำๆเอาสนุกกับเพื่อนฝูง เพราะผมไม่เห็นประโยชน์ที่เราจะซึือกล้องมาแล้วซื้อ Eye-fi อันเดียว หวังถ่ายแล้วโอนลง iPAD ... พระเจ้า iPAD มันก็มีเมมแค่ 16 32 64 128 GB พอๆกับเมมกล้องล่ะครับ เดี๋ยวจะต้องมาปวดหัวกับเปลี่ยน iPAD หรือ เมมในโทรศัพท์กันอีก... นอกจากแชร์โซเชี่ยลแบบ real time แล้ว ผมก็ไม่เห็นความจำเป็นใดๆอีกนอกจากมองเห็นภาพใหญ่ๆชัดๆ ถ้าเป็นตากล้องถ่ายงานนอกสตูฯก็น่าจะมีประโยชน์ ผมเคยใช่ถ่ายงานรับปริญญาสองครั้ง น้องๆเขาถูกใจใหญ่ครับ กล้องเล็กที่น้องเขาเอามาถ่ายเพื่อนไม่เอาละวางทิ้งซะงั้น เอา iPAD ผมไปถืออย่างเดียวเลย ไม่ชอบใจก็บอกให้ผมถ่ายใหม่ๆ ดีเหมือนกันครับ ไม่มีคนมาขอดูหลังกล้อง ส่องไปส่องมากล้องจะหล่น